วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 วันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2559



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้ได้เรียนเกี่ยวทฤษฎีการเคลื่อไหวและจังหวะได้เรียนถึงความหมายการเคลื่อนไหวความ สำคัญ ขอบข่ายการจัดกิจกรรม องค์ประกอบการเคลื่อนไหวและจังหวะ หลักการจัดกิจกรรม
การจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะ
 หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายตามจังหวะอย่างอิสระ โดยจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบมาประกอบการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้
สัญญาณหรือสัญลักษณ์ที่ใช้กำหนดตามความช้าความเร็วของการเคลื่อนไหว
1 เสียงจากคน เช่น การนับ การออกเสียงคำ
2 เสียงจากเครื่องดนตรี
3 การตบมือ หรือดีดนิ้ว เป็นจังหวะ
ความสำคัญของการเคลื่อนไหวและจังหวะช่วยให้เด็กเรียนรู้
- การเคลื่อนไหวของส่วนต่างๆ
- เรียนรู้และชอบ
- เข้าใจประโยชน์ของการเคลื่อนไหว
- พัฒนาการทางสร้างสรรค์
- ขีดจำกัดความสามารถ
- เทคนิคและวิธีคิดค้นและยังส่งเสริมพัฒนาการด้าน EQ ด้วย
ขอบข่ายการจัดกิจกรรมตามความพร้อมและความสนใจ
1 การเคลื่อนไหวพื้นฐาน 2 รูปแบบ เคลื่อนไหวอยู่กับที่ การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
2 การเคลื่อนไหวเล่นเลียนแบบ
3 การเคลื่อนไหวตามบทเรียน
4 การเล่นเกมประกอบเพลง
5 การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์
6 การเล่นเป็นเรื่องราวหรือนิยาย
องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
1 การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
2 บริเวณและเนื้อที่
3 ระดับของการเคลื่อนไหว สูง กลาง ต่ำ
4 ทิศทางของการเคลื่อนไหว ซ้าย ขวา หน้า หลัง บน ล่าง
5 การฝึกจังหวะ การทำจังหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียงการทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะ การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว
หลักการจัดกิจกรรม
 พยายามใช้สิ่งของที่อยู่รอบตัวเด็ก ครูควรกำหนดจังหวะ สัญญาณนัดหมาย การสร้างบรรยากาศอิสระในห้องเรียน ครูไม่ควรบังคับเด็กให้เข้าร่วมกิจกรรมและจัดให้มีการเล่นเกมครูจัดเพลงช้าๆสร้างความรู้สึกผ่อนคลาย สนุกสนาน ครูต้องจัดกิจกรรมทุกวัน ประมาณ 15-20 นาที
เนื้อหาการจัดกิจกรรม
-การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
-เคลื่อนไหวประกอบจังหวะและดนตรี
-การฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม
-การฝึกความจำ
-การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ / /ประกอบเพลง
-การเคลื่อนไหวตามจังหวะและสัญญาณ
-การฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง / คำบรรยาย
แนวทางการประเมิน
1 สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
2 สังเกตการทำท่าแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
3 สังเกตท่าทางตามคำสั่ง
4 สังเกตการแสดงออก
5 สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม



วันพฤหัสบดี ที่ 21 มกราคม 2559

            วันนี้เริ่มเข้าสู่การปฎิบัติกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัยโดยอาทิตย์ที่แล้วอาจารย์ให้ทุกคนคิดเพลงที่จะเต้นมาคนละหนึ่งเพลงหนูเลยเลือกเพลง ขอในเธอแลกเบอร์โทร ^^

กิจกรรมฝึกสมาธิด้วยท่าประจำเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเคลื่อนไหวขั้นต่อไปเป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ต้องจัดประสบการณ์ให้กับเด็กมี 3 ขั้น คือ ขั้นนำ เคลื่อนไหวพื้นฐาน ขั้นสอน เคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา เช่น หน่วยปลา ทำท่าปลา ขั้นสรุป การผ่อนคลาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
กิจกรรมการเคลื่อนไหวพื้นฐาน
1.ให้เด็กเดินหามุมของตัวเองสำหรับการเคลื่อนไหว 
2.ลองให้เด็กกางแขนและหมุนตัวดูว่าเวลาหมุนนั้นชนกันหรือไม่ถ้าชนก็ให้หามุมใหม่ 
3.สอนท่าการเคลื่อนไหวโดยงานที่เด็กสามารถทำตามได้ 
4.สอนท่าการเคลื่อนไหวโดยมีเครื่องเคราะเพื่อบอกจังหวะให้กับเด็กถ้าเคราะหนึ่งครั้งและเคลื่อนที่หนึ่งครั้งตามจังหวะเคราะ เคราะกี่ครั้งก็ทำท่าตามจำนวนที่เคราะ แต่ถ้าเคราะไปเรื่อยๆไม่หยุดให้เด็กทำท่าทางไปเรื่อยๆ แต่เมื่อเคราะสองครั้งติดกันให้หยุดทันที อาจจะใช้สันยานเตือนเป็นนกหวีดก็ได้
การนำไปประยุกต์ใช้
รู้จักการเคลื่อนไหวร่างกายในแบบต่างๆแล้วนำไปสอนเด็กได้และได้รู้วิธีการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัยที่เหมาะสม ได้ฝึกท่าบริหารสมองเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนทำกิจกรรมต่างๆได้
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : วันนี้ตั้งใจทำกิจกรรมในสิ่งที่อาจารย์ได้ให้ทำร่วมกันภายในห้อง ฟังในสิ่งที่อาจารย์สอนเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจในการทำกิจกรรมและ ให้ความร่วมมือในสิ่งที่อาจารย์จัดกิจกรรมให้เล่นกันอย่างสนุกสนานดีค่ะ



ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้ความสนใจกับเพลงที่พวกเราเต้นและนำกิจกรรมให้พวกเราได้ทำกันแบบไม่เคร่งเคลียดอาจารย์น่ารักมากๆเวลาสอนเข้าใจง่ายฟังแล้วเข้าใจง่าย รับฟังความคิดเห็นของพวกเราเสมอค่ะ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น